งานสร้างถนน

อนาวิล เดโมลิชั่น

ผู้เชี่ยวชาญ ด้านงานทำถนนคอนกรีต, ถนนลาดยางมะตอย, ถนนหินคลุก, ลูกรัง

ผู้ให้บริการรับเหมาถมที่ ออกแบบ ก่อสร้าง ถนน คสล. ถนน ลาดยางมะตอย ลานจอดรถ เทพื้นคอนกรีต ลานวางตู้คอนเทรนเนอร์, ถนนโกดัง, โรงงาน, สนามกีฬา ลานตู้, ร้านกาแฟ, บ้าน, โฮมออฟฟิต, โชว์รูม, อาคารพาณิชย์, โรงจอดรถ, โรงแรม, หอพัก, รีสอร์ท, โรงเรียน, มหาวิทยาลัย, โรงพยาบาล โดยวิศวกร มีใบอนุญาตควบคุมการก่อสร้าง เซ็นต์รับรองแบบตามหลักวิศวกรรม ด้วยประสบการณ์ที่รับงานขนาดเล็ก-ใหญ่ หลายโครงการ บริษัทฯมีความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง จึงสามารถปรับแผนงานให้สอดคล้องกับสภาพภูมิประเทศแต่ละพื้นที่

ขั้นตอนการก่อสร้างถนน

ถนนแต่ละประเภทมีรายละเอียดการใช้งานไม่เหมือนกัน ไม่ว่าการใช้งานของคุณจะเป็นอย่างไรเรายินดีให้คำปรึกษา ออกแบบพร้อมประเมินราคาและทำใบเสนอราคาให้คุณฟรี!

1. โทรแจ้งความต้องการของคุณกับทีมงานของเรา
2. เข้าไปประเมินหน้างาน เพื่อนำมาคำนวณ
3. ทำ Master layout และสเปคยืนยันฟรี!
4. รับทำใบเสนอราคา พร้อมเซ็นสัญญาก่อนเริ่มงาน
5. เตรียมพื้นที่เดิม เช่น กะเทาะพื้นเดิม, บดอัดดิน-ทราย
6. เตรียมโครงสร้างพื้น เช่น โครงเหล็กต่างๆ
7. เทพื้น เกลี่ยพื้นให้เรียบ เคลือบผิว
8. ตรวจสอบคุณภาพพื้น ส่งมอบงาน

อนาวิล เดโมลิชั่น

เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มบริษัทในเครือบริษัท ฟาลคอน เจนเนอเรชั่น จำกัดด้วยประสบณ์การยาวนานกว่า 20 ปีในการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง ได้รับความไว้วางใจจากบริษับเหมาก่อสร้างชั้นนำให้เป็นผู้ดำเนินการรื้อถอน และเคลียร์พื้นที่เพื่อให้สามารถรองรับสิ่งปลูกสร้าง ตามแบบที่ลูกค้ากำหนด

ควบคุมงานก่อสร้าง

เมื่อตกลงจ้างผู้รับเหมาก่อสร้าง ก็จะมีผู้ควบคุมงานก่อสร้าง หรือผู้ที่มีความเชี่ยวชาญซึ่งมาร่วมดูแลขั้นตอนการก่อสร้างถนน โดยหากปล่อยปละละเลยในหน้าที่ ก็อาจส่งผลให้ถนนออกมาไม่มั่นคงแข็งแรงตามที่ควร ผู้ใช้ทางได้รับความเดือดร้อนในภายหลัง ซึ่งผู้ควบคุมงานก่อสร้างมีหน้าที่ต่าง ๆ ดังนี้

จัดเตรียมและอ่านทำความเข้าใจแบบแปลน สัญญา เอกสารรายงานต่าง ๆ ให้เรียบร้อย นอกจากนี้ก็ยังต้องตรวจสอบอุปกรณ์ในการตรวจงานให้ใช้ได้ดีอยู่เสมอ

แจ้งให้ผู้รับจ้างทำและติดตั้งป้ายเตือนเขตพื้นที่ก่อสร้าง เพื่อความปลอดภัยของผู้ที่ผ่านไปมา ทั้งคนเดินเท้า ผู้ขับขี่ยานพาหนะ และผู้ปฏิบัติงาน

หากผู้รับจ้างก่อสร้าง ทำงานล่าช้า ให้ผู้ควบคุมงานก่อสร้างส่งหนังสือเตือนเพื่อเร่งรัดการทำงานให้ได้ตามกำหนด

สัญญาการจ้างงานก่อสร้างจะแบ่งออกเป็นงวด ๆ ดังนั้นในการตรวจรับงานในแต่ละงวดก็จะมีการตรวจสอบตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในสัญญา ซึ่งคณะกรรมการตรวจรับก็จะสอบถามกับทางผู้ควบคุมการก่อสร้างถึงปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในการก่อสร้าง

เอกสารเผยแพร่บริษัท

รู้จักถนนผิวจราจร 3 ประเภท

ประเภทของถนนที่จะก่อสร้างเสียก่อน โดยหลัก ๆ มีสามประเภทแบ่งตามวัสดุที่ใช้ก่อสร้าง ดังนี้

ถนนผิวจราจรลูกรัง

ถนนแบบที่มักพบในพื้นที่ชนบท โดยโครงสร้างของถนนชั้นแรกจะเป็นดินถม ก่อนปูด้วยลูกรังอัดแน่นเพื่อเป็นผิวถนน เป็นถนนแบบที่ใช้งบประมาณน้อยที่สุด ก่อสร้างได้ง่าย แต่ชำรุดได้ง่ายเช่นเดียวกัน มีฝุ่นคลุ้งตลอดเวลา ในหน้าฝนก็เป็นหลุมบ่อ และไม่สามารถรองรับปริมาณการจราจรได้มากนัก เจ้าของพื้นที่อาจเพิ่มความคงทนต่อสภาพอากาศได้ด้วยการโรยกรวดบนพื้นถนน

ถนนผิวจราจรคอนกรีต

ถนนที่พบได้มากในหมู่บ้านและชุมชนเมือง โดยอาจเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก หรือวัสดุอื่น เป็นถนนที่มีความคงทน ใช้งานได้งาน ก่อสร้างง่าย แต่ก็มีข้อเสียคือผิวการจราจรมักจะไม่เรียบเพราะมีรอยต่อหลายจุดเพื่อป้องกันรอยแตกบนพื้นถนน โดยหากต้องการให้ถนนรับน้ำหนักได้มาก ก็จะต้องเพิ่มค่าใช้จ่าย

ถนนผิวจราจรลาดยางมะตอย (แอสฟัลต์)

ถนนที่พบได้มากในช่วงถนนรอยต่อระหว่างเมือง เนื่องจากมีปริมาณการจราจรที่หนาแน่น และเป็นการก่อสร้างถนนที่ใช้เวลาไม่นาน โดยนอกจากแอสฟัลต์แล้ว ยังนิยมลาดยางประเภทอื่น ๆ เช่นเคพซีล, ลาดยางสองชั้น ฯลฯ ซึ่งถนนจะมีผิวเรียบ ไม่มีรอยต่อเหมือนถนนผิวจราจรคอนกรีต มีความยืดหยุ่นสูง สามารถใช้งานได้นาน แต่หากต้องมีการปรับปรุงพื้นถนน จะต้องใช้เครื่องจักรกลมาดำเนินการเท่านั้น

เป็นการสำรวจอย่างละเอียดที่พื้นที่จริง ซึ่งช่างสำรวจจะมาประเมินค่าก่อสร้างเบื้องต้นให้

เป็นการนำข้อมูลที่มีอยู่แล้วมาช่วยในการสำรวจ เช่นแผ่นที่ รูปถ่ายทางอากาศ การสำรวจภาคพื้นดิน ทั้งนี้ก็เพื่อให้ได้เส้นทางที่ดีและสั้นที่สุด รวมไปถึงการสำรวจด้านภูมิประเทศ ที่จะต้องตรวจสอบความลาดชัน รวมไปถึงความหนาแน่นของจราจรบริเวณนั้น

การตรวจบำรุงรักษาถนน

ถนนควรบำรุงรักษาให้อยู่ในสภาพดีเสมอ เพื่อความปลอดภัยและความสะดวกสบายของผู้ใช้ทาง โดยถนนอาจเกิดความเสียหายได้ 2 ประเภท ดังนี้

  • ความเสียหายในด้านการใช้งาน (Function Failure) เช่น ผิวถนนขรุขระเป็นคลื่น ทำให้ไม่สามารถใช้ทางได้ไม่สะดวก ใช้ความเร็วได้ต่ำ
  • ความเสียหายด้านโครงสร้าง (Structure Failure) เช่น ผิวถนนเป็นหลุมบ่อ คันทางทรุด

การบำรุงรักษาประจำที่ทำตลอด เพื่อให้ถนนอยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ดี และป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น เช่นการซ่อมแซมรอยแตกและหลุมต่าง ๆ การปรับสภาพถนน เป็นต้น

การบำรุงรักษาถนนตามกำหนดเวลา ทั้งนี้เพื่อยืดอายุการใช้งานของถนนให้สามารถใช้งานได้ยาวนาน เช่นการบูรณะถนน ฉาบผิวแอสฟัลต์ เป็นต้น

การบำรุงรักษาถนนที่ชำรุดทรุดโทรมกว่างานซ่อมบำรุงปกติ เพื่อให้ถนนสามารถใช้งานได้ตามเดิม เช่นการซ่อมไหล่ทาง การปรับระดับผิวถนน เป็นต้น

การบำรุงรักษาถนนที่ชำรุดเสียหายมาก เพื่อให้สามารถเปิดใช้งานได้ เช่นถนนที่เสียหายจากดินโคลนถล่ม น้ำท่วม เป็นต้น

ขั้นตอนการก่อสร้างถนน

การก่อสร้างถนนเป็นเรื่องใหญ่ที่ต้องเตรียมการเยอะ ซึ่งหากเกิดความผิดพลาดในบางขั้นตอน อาจส่งผลให้เกิดความเสียหายในระยะยาวได้ ซึ่งขั้นตอนการก่อสร้างถนนที่ถูกต้องและมีการตรวจสอบอย่างรัดกุมจะส่งผลให้ถนนในหมู่บ้าน ชุมชน บริษัท ฯลฯ สามารถใช้การได้ดีอย่างยาวนานคุ้มค่าเงินที่ลงทุนไป โดยควรเริ่มจากตรงไหน ตามมาอ่านกันเลย

หลังจากตกลงว่าจ้างเป็นที่เรียบร้อย การก่อสร้างถนนก็จะเกิดขึ้นเป็นลำดับต่อมา โดยมีขั้นตอนดังนี้

รากฐานของถนนที่จะทำให้ถนนแข็งแรง ทนทาน โดยจะมีการใช้เครื่องจักรขุดดินและถอนเอาวัสดุที่ไม่ต้องการออกจากดิน เช่น ขอนไม้ กองขยะ เพื่อให้เป็นคันทางตามรูปแบบของถนนที่ได้ออกแบบไว้ ซึ่งหากพื้นทางเป็นโคลนหรือมีน้ำมาก ก็จะทำให้การลาดยางผิวถนนออกมาไม่เรียบเนียน

เป็นชั้นที่จะก่อสร้างก็ต่อเมื่อชั้นพื้นฐานทางบริเวณนั้นอ่อนมาก จนต้องช่วยเพิ่มความแข็งแรง วัสดุที่ใช้จะเน้นวัสดุที่หาง่ายและราคาถูกเช่น ดินลูกรัง ทราย เป็นต้น ชั้นนี้จะทำให้ผิวทางมีความเรียบสม่ำเสมอและลดการแอ่นตัวของผิวทาง โดยการก่อสร้างก็ใช้วิธีลงวัสดุเป็นชั้น ๆ ก่อนบดอัดด้วยปริมาณความหนาแน่นที่ต้องการ

ชั้นที่อยู่ใต้ผิวทางซึ่งเป็นชั้นที่ช่วยรับน้ำหนัก ดังนั้นต้องใช้วัสดุคุณภาพดี แข็งแรง เช่นกรวดอัดแน่น หินคลุกซีเมนต์ วัสดุเม็ด เป็นต้น นิยมสร้างเมื่อชั้นผิวทางเป็นแอสฟัลต์เนื่องจากเป็นผิวทางที่ยืดหยุ่นไปตามชั้นราก โดยใช้รถบดช่วยเพื่อให้วัสดุถูกบดอัดจนแน่น ก่อนจะคลุมผิวหน้าด้วยแอสฟัลต์เจือจางที่เรียกว่า Prime Coat

ชั้นที่รองรับการจราจรของรถประเภทต่าง ๆ โดยควรกันน้ำได้ดี มีความลาดเอียงตามเหมาะสมเพื่อป้องกันน้ำขัง ต้านทานการลื่นไถล และยึดเกาะกับชั้นล่างได้ดี สำหรับถนนในเขตเมืองจะนิยมลาดถนนด้วยแอสฟัลต์และคอนกรีตเป็นหลัก ซึ่งการลาดถนนทั้งสองประเภทก็มีข้อแตกต่างดังนี้
4.1 คอนกรีต
สำหรับคอนกรีตจะต้องมีการแบ่งพื้นถนนเป็นช่วง ๆ ทั้งนี้ก็เพื่อสำหรับการขยายและหดตัวตามสภาพอากาศ ป้องกันการแตกของพื้นถนนในอนาคต โดยขณะเทคอนกรีตให้ใช้กระดาษหนาหรือไม้วางขวางถนนนำหน้าคอนกรีตที่กำลังเทในแต่ละส่วน และห้ามหยุดเทเกิน 30 นาทีเป็นอันขาด หากหยุดเกินกว่านั้นต้องรื้อแล้วเททิ้งทันที หากมีเหล็กเสริมพื้นถนน เหล็กนั้นจะต้องสะอาด เพื่อป้องกันไม่ให้สูญเสียแรงยึดกับคอนกรีต หรือเป็นสนิมในอนาคต
4.2 แอสฟัลต์
ก่อนอื่นต้องเลือกชนิดของแอสฟัลต์ให้เหมาะกับถนนที่ต้องการ โดยหลังจากทำการพ่นแอสฟัลต์ครั้งแรกแล้ว ให้ทำการเก็บรายละเอียดของผิวถนนด้วยการเทแอสฟัลต์พร้อมทำการบดเพื่อเสริมความแข็งแรงของถนนอีกชั้น และปิดท้ายด้วยรถบดเพื่ออัดให้พื้นยางแน่น

เมื่อจบทุกขั้นตอนการก่อสร้างถนน ก็จะมาถึงการตีเส้นจราจรต่าง ๆ เพื่อให้รถสามารถวิ่งได้อย่างปลอดภัยไม่ว่าจะเป็นกลางวันหรือกลางคืน รวมไปถึงทางม้าลายเพื่อความสะดวกของคนเดินถนน ที่กำหนดความกว้างไว้ไม่น้อยกว่า 2 เมตร ซึ่งการตีเส้นจราจรที่ได้มาตรฐานก็จะมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน ทนทานต่อแรงกระแทก

The Process

สรุปเรื่องขั้นตอนการก่อสร้างถนน

การก่อสร้างถนนจำเป็นต้องพิถีพิถันตั้งแต่การวางแผน การเลือกวัสดุ ที่ควรวางแผนให้เหมาะสมกับปริมาณจราจร การขยายตัวของเมือง ความแข็งแรงของพื้นดินเดิม ฯลฯ  ซึ่งเมื่อออกแบบถนนเรียบร้อยก็เข้าสู่ขั้นตอนการสร้างถนน ที่จำเป็นต้องมีการควบคุมการก่อสร้างที่ดี เพื่อให้ถนนได้มาตรฐาน คงทน ใช้งานได้นานโดยไม่ต้องซ่อมบ่อย ๆ ซึ่งผู้ควบคุมการก่อสร้างที่ดีก็ควรตรวจสอบการทำงานสม่ำเสมอ ไม่ว่าจะเป็นการทำงานของผู้รับเหมา หรือจะเป็นคุณภาพของวัสดุ โดยหลังจากถนนสร้างเสร็จก็ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้โดยขาดการบำรุงรักษา เพราะอาจส่งผลถึงชีวิตของผู้ใช้ถนนเลยทีเดียว ผู้ดูแลต้องหมั่นบำรุงรักษาไม่ให้ขาด และซ่อมทันทีหากถนนชำรุดเฉียบพลัน

Do you have any questions?